ในปัจจุบันนี้ ก่อนที่จะเริ่มทำแบรนด์เป็นของตัวเองการทำสินค้าให้มีคุณภาพดีและตอบโจทย์คงไม่พอกับการแข่งขันที่สูงมากในยุคนี้ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการสร้างหน้าตาให้กับแบรนด์ หรือ Brand CI เพื่อให้ลูกค้าจำได้ แล้ว Brand CI มันคืออะไรกันล่ะ? ทำไมมันถึงมีความสำคัญในการสร้างหน้าตาให้กับแบรนด์? ก่อนอื่นเลยเราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับ CI กับ Brand CI กันก่อน
- CI หรือ Corporate Identity คือ เอกลักษณ์ขององค์กร หรือหน้าตาขององค์กรที่จะสื่อถึงวัฒนธรรม หรือค่านิยมขององค์กร เช่น โลโก้, สี, ตัวอักษร, และรูปแบบการออกแบบที่ใช้ในสื่อทั้งหมดขององค์กร ไปยังผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรเช่น ลูกค้า พนักงาน และคู่ค้า โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความแตกต่าง, ความน่าเชื่อถือ และความจดจำในตลาด
- Brand CI หรือ Brand Corporate Identity คือ เอกลักษณ์ของแบรนด์ ซึ่งจะมีความใกล้เคียงกับ CI แต่ Brand CI เป็นหน้าตาของแบรนด์ ที่สื่อถึงตัวตนของแบรนด์ และความตั้งใจของแบรนด์กับลูกค้าภายนอกเป็นหลักผ่านโลโก้แบรนด์, สี, และฟอนต์ที่สะท้อนถึงตัวตน มีจุดมุ่งหมายหลักคือสร้างความจดจำและความผูกพันกับลูกค้า
แม้ว่า CI และ Brand CI มีความใกล้เคียงกันมากๆ คือการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรหรือแบรนด์ แต่สื่งที่แตกต่างกันที่เห็นได้ชัดๆนั่นก็คือเป้าหมายของแต่ละประเภท CI จะเน้นสร้างเอกลักษณ์ขององค์กรโดยรวม ในขณะที่ Brand CI จะมุ่งเน้นไปที่สร้างเอกลักษณ์ให้ลูกค้าจำได้ และเพื่อที่จะให้คุณเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น เราจะพามาดูตัวอย่างจากแบรนด์ระดับโลกกัน เช่น Coca-Cola มี CI ที่ครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่โลโก้ สีแดงที่เป็นเอกลักษณ์ วัฒนธรรมองค์กรที่เน้นความสนุกสนาน ไปจนถึงพฤติกรรมของพนักงานที่เป็นมิตร ส่วน Brand CI ของ Coca-Cola จะเน้นไปที่การสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เป็นเครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่นและเป็นที่ชื่นชอบของทุกคน
ความสำคัญของ Brand CI ต่อธุรกิจของคุณ
อย่างที่เราได้พูดถึงข้างต้นว่า Brand CI (Brand Corporate Identity) คือเอกลักษณ์หรือหน้าตาของแบรนด์ เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจเลยก็ว่าได้ การสร้าง Brand CI ที่แข็งแกร่งซึ่งจะส่งผลต่อความสำเร็จในระยะยาว ความสำคัญหลักของ Brand CI มีดังนี้
- สร้างการจดจำแบรนด์ การมี Brand CI ที่โดดเด่นไม่ว่าจะเป็นโลโก้ สี หรือฟ้อนท์ จะช่วยให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย
- สร้างความน่าเชื่อถือ Brand CI ที่มีความสม่ำเสมอในทุกช่องทางที่ใช้สื่อกับลูกค้า เช่น แพจเกจจิ้ง เว็ปไซต์ หรือโฆษณา ทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจในคุณภาพสินค้าและบริการ
- สร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ของคุณ เนื่องจากมีการแข่งขันในตลาดที่สูง การมี Brand CI ที่ชัดเจนและโดดเด่นช่วยสร้างความแตกต่างได้ ช่วยดึงดูดลูกค้าได้ดีกว่า
- สร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์กับลูกค้า Brand CI ที่สื่อถึงค่านิยมที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า จะช่วยสร้างความผูกพันระยะยาวกับลูกค้า ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้ซ้ำและบอกต่อ
- ส่งเสริมเรื่องการสื่อสารแบรนด์ ทำให้การสื่อสารภายในและภายนอกองค์กรไปในทิศทางเดียวกัน
- เพิ่มมูลค่าให้แบรนด์ แบรนด์ที่มีภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจ ทำให้สามารถขยายตลาดหรือเพิ่มความน่าสนใจในการลงทุนได้ง่ายขึ้น
ความสำคัญของ Brand CI ในยุคดิจิทัล
ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่เวลาอยู่บนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนฟีดข่าว ช็อปปิ้งออนไลน์ หรือเลื่อนดู Short Video สิ่งนี้ทำให้สื่อออนไลน์กลายเป็นช่องทางหลักที่จะทำให้แบรนด์เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็ว โดย Brand CI มีบทบาทสำคัญในยุคดิจิตัล ดังนี้
สร้างการรับรู้ของแบรนด์ผ่านช่องทางออนไลน์ (Brand Awareness)
เนื่องจากปัจจุบันนี้ช่องทางออนไลน์ เช่น เว็ปไซต์และ Social Media เป็นที่ที่ลูกค้าจะเห็นแบรนด์ของเรา Brand CI ที่ออกแบบดีๆให้โดดเด่น สะดุดตาด้วยการใช้สี โลโก้ หรือฟ้อนต์ที่คุมธีมไปในทางเดียวกัน ก็จะทำให้ลูกค้าจดจำได้ง่ายขึ้น
สร้างประสบการณ์ที่ดีต่อลูกค้าผ่าน Brand CI
ไม่ว่าลูกค้าจะเข้าถึงแบรนด์ผ่านช่องทางไหน การที่มี Brand CI จะช่วยให้สร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้าได้ดี เช่น การออกแบบเว็ปไซต์ที่ใช้งานง่าย เลือกใช้ภาพและตัวหนังสือที่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกสบายใจและมั่นใจในแบรนด์ ซึ่งทำให้พวกเขามีความพึงพอใจและอยากกลับมาใช้บริการอีกครั้ง
สามารถปรับ Brand CI ให้เข้ากับเทรนด์ใหม่ๆ ได้
ในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงเร็ว การมี Brand CI ที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับเข้ากับเทรนด์ใหม่ๆ เป็นสิ่งสำคัญ เช่น การอัปเดตดีไซน์เว็บไซต์หรือโลโก้ให้ทันสมัย ซึ่งช่วยให้แบรนด์ไม่ตกยุคและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การปรับเปลี่ยนเล็กน้อยในองค์ประกอบของ Brand CI ช่วยให้แบรนด์ดูสดใหม่และสอดคล้องกับแนวโน้มตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
องค์ประกอบของ Brand CI
องค์ประกอบของ Brand CI มีหลายส่วนที่ช่วยสร้างเอกลักษณ์และภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ชัดเจน โดยองค์ประกอบหลักๆ ที่สำคัญ มีดังนี้
โลโก้ (Logo)
เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของแบรนด์ ซึ่งช่วยในการสร้างการจดจำและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า โลโก้ควรออกแบบให้เรียบง่าย จำง่าย และสะท้อนถึงคุณค่าหรือคาแรคเตอร์ของแบรนด์
สีของแบรนด์ (Color Palette)
การเลือกใช้สีแต่ละสีจะเป็นการสื่อถึงอารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่างกัน เช่น สีแดงสื่อถึงความกระตือรือล้นหรือพลัง สีเขียวสื่อถึงความสดชื่นและธรรมชาติ ดังนั้น ควรเลือกสีที่มีความสอดคล้องกับค่านิยมของแบรนด์
ฟอนต์หรือตัวอักษร (Typography)
ฟ้อนต์ที่เลือกใช้จะสะท้อนภาพลักษณ์ ควรใช้ฟอนต์ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อใช้เชื่อมโยงกับแบรนด์ ยกตัวอย่างเช่น ฟอนต์ที่ดูทันสมัยจะเหมาะกับแบรนด์เทคโนโลยี ฟอนต์ที่ดูคลาสสิกจะเหมาะกับแบรนด์ที่มีประวัติยาวนาน
โทนเสียงและภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร (Tone of Voice)
น้ำเสียงในการสื่อสาร เช่น ภาษาและสไตล์การพูดที่ใช้ในโฆษณา สโลแกนสั้นๆ หรือข้อความในโซเชียลมีเดีย ควรสะท้อนถึงบุคลิกของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นทางการ เป็นมิตร หรือสนุกสนาน ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมาย
สไตล์การออกแบบ (Design Style)
สไตล์การออกแบบใน Brand CI หมายถึงลักษณะการตกแต่งหรือดีไซน์ที่ใช้เพื่อสื่อสารกับลูกค้า นอกจาก รูปแบบกราฟฟิค, สี, ฟอนต์ ก็ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่ใช้ในสื่อสารการตลาด สไตล์การออกแบบโดยรวมจะสะท้อนถึงความเป็นตัวตนของแบรนด์ โดยสามารถเป็นสไตล์ที่เรียบง่าย, ทันสมัย, หรูหรา, หรือสนุกสนานขึ้นอยู่กับประเภทของแบรนด์และกลุ่มเป้าหมาย
ค่านิยมและเอกลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Values and Identity)
ค่านิยมและเอกลักษณ์ของแบรนด์ จะสะท้อนผ่านการออกแบบต่างๆ ค่านิยมเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดทิศทางที่จะสื่อสารกับลูกค้า เช่น ความยั่งยืน หรือความเชื่อมั่น ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมโยงและความผูกพันกับลูกค้า พร้อมทั้งทำให้แบรนด์มีความแตกต่างจากคู่แข่ง
ความสัมพันธ์ของ Brand CI กับการตลาด
Brand CI กับการตลาดมีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดมาก เพราะ Brand CI คือเอกลักษณ์และภาพลักษณ์และแนวทางของแบรนด์ที่ใช้สื่อกับลูกค้าที่ชัดเจน ส่วนการตลาดคือวิธีการนำเสนอและกระจายข้อมูลไปสู่ผู้บริโภค ทั้งสองมีความสัมพันธ์กันดังนี้
- เป็นพื้นฐานของการสร้างแบรนด์ เพื่อให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ในระยะยาว
- กำหนดทิศทางการสื่อสาร ให้เกิดความชัดเจน ทุกข้อความและสื่อต่างๆนำเสนอไปในทิศทางเดียวกัน
- สร้างความแตกต่าง จะช่วยให้แบรนด์โดดเด่น โดยเน้นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ลูกค้าจะจดจำได้ง่าย
- สร้างความเชื่อมั่น Brand CI ที่ชัดเจนและสม่ำเสมอช่วยให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจในแบรนด์
- เพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการตลาด Brand CI ที่แข็งแกร่งช่วยให้การตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนในการสร้างการรับรู้ เพราะลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ง่ายและรวดเร็ว
ซึ่งสรุปได้ว่า Brand CI เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้การตลาดมีทิศทางและสร้างผลลัพธ์ที่ดี ช่วยให้แบรนด์มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความท้าทายและอุปสรรคในการสร้าง Brand CI ที่นักออกแบบและนักการตลาดต้องรู้
ในการสร้าง Brand CI เป็นขั้นตอนที่เต็มไปด้วยความท้าทายค่อนข้างมากที่นักออกแบบและนักการตลาดต้องพบเจอ ไม่ว่าจะเป็น การทำความเข้าใจแบรนด์อย่างลึกซึ้งเพื่อให้สิ่งที่จะสื่อสะท้อนค่านิยมและเป้าหมายที่แท้จริง การที่ต้องสร้างความแตกต่างเพื่อให้โดดเด่นในการตลาด อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงข้อจำกัดด้านทรัพยากรและการรักษาความสม่ำเสมอในทุกช่องทางการสื่อสาร นอกจากนี้ แบรนด์ก็ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว เพื่อให้สามารถคงความชัดเจน แข็งแกร่ง และสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้า
The Code Color เราเข้าใจเรื่องเฉดสีและการออกแบบสีให้ตรงกับ CI ของธุรกิจคุณ
การเลือกสีให้เหมาะสมกับแบรนด์ถือเป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่สุด สีที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์คือสิ่งที่จะทำให้แบรนด์ของคุณโดดเด่น ให้ The Code Color เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับคุณ เพราะเราเข้าใจเรื่องเฉดสี สามารถให้คำปรึกษา ออกแบบ ผลิตสีตามตัวอย่าง ผลิตได้ทุกเฉดใน pantone ด้วยประสบการณ์มากกว่า 25 ปี รองรับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ ออกแบบภายในและภายนอก มีบริการผลิตเร็วภายใน 24-48 ชั่วโมง มีทั้งรูปแบบกระป๋องและอัดเปรย์
ขั้นตอนและกระบวนการในการสร้าง Brand CI ที่เจ้าของธุรกิจควรรู้
ทำความเข้าใจธุรกิจและกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์
ก่อนที่จะสร้าง Brand CI แน่นอนว่าจะต้องทำความเข้าใจธุรกิจและกลุ่มลูกค้าก่อนว่า แบรนด์ของเราคือใคร? ต้องการเจาะกลุ่มไหน? เช่น ลูกค้าคือใคร ช่วงอายุเท่าไหร่ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้ออกแบบ Brand CI ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้
กำหนด Brand Concept
เริ่มกำหนดแนวคิดของแบรนด์ ว่าแบรนด์เราต้องการให้ลูกค้ารู้สึกยังไง หรือสะท้อนถึงอะไร เช่น ถ้าแบรนด์ของเรามีความเป็นมิตร หรือเน้นความหรูหรา การกำหนด Brand Concept จะช่วยให้เราทำให้ทุกอย่างใน Brand CI ตรงกับภาพลักษณ์ที่ต้องการ
ออกแบบองค์ประกอบของ Brand CI
เมื่อแนวคิดของแบรนด์ชัดเจนแล้ว ก็เริ่มออกแบบองค์ประกอบต่างๆ เช่น โลโก้, สี, ฟอนต์ หรือสไตล์การพูด การออกแบบทุกอย่างต้องสะท้อนถึงแนวคิดที่กำหนดไว้ และช่วยให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ง่าย
สร้าง Brand Guidelines
หลังจากที่ออกแบบองค์ประกอบ Brand CI ควรสร้าง Brand Guidelines เพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ใช้องค์ประกอบต่างๆของแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง
การนำไปใช้งานและประเมินผล
เมื่อเตรียม Brand CI พร้อมแล้ว สามารถเริ่มนำไปใช้งานจริง เช่น ในเว็บไซต์, สื่อโซเชียล, โฆษณา หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ แล้วตามด้วยการประเมินผลว่าแบรนด์ได้รับการตอบรับดีแค่ไหน และสามารถเข้าถึงลูกค้าได้หรือไม่ เพื่อจะได้ปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
การสร้าง Brand CI ไม่ใช่แค่การออกแบบภาพลักษณ์ แต่ยังต้องสร้างประสบการณ์ที่ลูกค้ารู้สึกเชื่อมโยงและจดจำแบรนด์ได้ในระยะยาวอีกด้วย
ตัวอย่างของการใช้ Brand CI ที่ประสบความสำเร็จ
Apple
Apple เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ Brand CI ที่มีความสม่ำเสมอและชัดเจนจากทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโลโก้ที่เรียบง่าย สีที่เป็นเอกลักษณ์ (ขาวและเงิน) ฟอนต์ที่เลือกใช้ รวมไปถึงสไตล์การสื่อสารที่เน้นความหรูหราและทันสมัย การนำ Brand CI นี้ไปใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตั้งแต่ iPhone, iPad ไปจนถึงการตกแต่งร้านค้าของ Apple ก็ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งและจดจำได้ง่ายในใจลูกค้า
Amazon
Amazon ใช้การออกแบบ Brand CI ที่เรียบง่าย แต่มีความหมาย เช่น การใช้ลูกศรจาก “A” ถึง “Z” ในโลโก้ ที่สื่อถึงความหลากหลายของสินค้าที่สามารถหาได้จากเว็บไซต์นี้ การใช้สีส้มและดำในโลโก้ทำให้รู้สึกถึงความมั่นคงและน่าเชื่อถือ ทุกองค์ประกอบของ Brand CI ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของการเป็นเว็บไซต์ที่สะดวก รวดเร็ว และครบครัน
Starbucks
Starbucks ใช้ Brand CI ที่มุ่งเน้นความรู้สึกของความอบอุ่นและการต้อนรับที่ดี โดยการออกแบบร้านที่เป็นเอกลักษณ์ การใช้โลโก้ที่สะท้อนถึงความมีความหมาย และการเลือกใช้สีเขียวที่สงบและเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ทุกองค์ประกอบของ Brand CI ช่วยสร้างบรรยากาศที่ลูกค้ารู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ ซึ่งทำให้ Starbucks กลายเป็นแบรนด์ที่ลูกค้ารักและภักดี
Brand CI (Corporate Identity) คือสิ่งที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้มีความชัดเจนและโดดเด่น ซึ่งทำให้แบรนด์ของเราน่าสนใจและแตกต่างจากคู่แข่ง การมี Brand CI ที่ดีทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ง่ายและรู้สึกเชื่อมั่นกับสิ่งที่แบรนด์ต้องการสื่อสาร การใช้ Brand CI อย่างสม่ำเสมอในทุกๆ ช่องทาง ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ จะทำให้แบรนด์ดูมืออาชีพและน่าเชื่อถือ
นอกจากนี้ Brand CI ก็ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เพิ่มการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) และทำให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันกับแบรนด์ได้มากขึ้น ทำให้แบรนด์เติบโตได้ในตลาดที่มีการแข่งขันสูงและทำให้แบรนด์มีความยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย