51-53 ซอยศูนย์บันเทิงการค้า ถนนนวมินทร์ เเขวงคลองจั่น บางกะปิ, กรุงเทพ, ประเทศไทย 10240

ทำความรู้จักกับสีพ่นอุตสาหกรรม ประเภทและการใช้งานที่ควรรู้?

“สีพ่นอุตสาหกรรม” อาจจะเป็นคำที่หลายๆคนไม่คุ้นหูเท่าไหร่ หรืออาจจะคิดว่ามันคือเรื่องที่ไกลตัวด้วย แต่จริงๆแล้วมันมีบทบาทเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากกว่าที่คิด สีพ่นอุุตสาหกรรมไม่ใช่เพียงแค่เครื่องมือที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือเป็นแค่เครื่องมือที่ใช้ในการตกแต่งทำให้วัสดุดูสวยงามเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความทนทานและยืดอายุการใช้งานสิ่งของต่างๆได้เหมือนกัน ก่อนอื่นเราพาคุณมาทำความรู้จักคร่าวๆก่อนว่ามันคืออะไร?

สีพ่นอุสาหกรรม หรือ Industrial Spray Paint คือสีที่ออกแบบมาพิเศษเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม โดยมีคุณสมบัติเด่นๆนั่นก็คือ ทนทานต่อความร้อน สารเคมี ปกปิดพื้นผิวได้ดีทนต่อการขัดถู ส่วนประกอบหลักของสีพ่นในอุตสาหกรรมเช่น ไนโตรเซลลูโลส ช่วยให้สีแห้งเร็วและเงางาม สีพ่นอุตสาหกรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเพิ่มความทนทานและเสริมประสิทธิภาพการใช้งานของวัสดุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร, ยานยนต์, หรือการตกแต่งภายในและภายนอกอาคาร ในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับสีพ่นอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้นว่าแตกต่างกับสีทาบ้านทั่วไปหรือไม่? มีประเภทไหนบ้าง? รวมถึงวิธีการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานของคุณอีกด้วย

ความแตกต่างของสีพ่นอุตสาหกรรมและสีทาบ้านทั่วไป

ความแตกต่างของสีพ่นอุตสาหกรรมและสีทาบ้านทั่วไป

สีพ่นอุตสาหกรรมและสีทาบ้านทั่วไปนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งในเรื่องคุณสมบัติ ส่วนผสม และการใช้งาน อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นไปสีพ่นอุตสาหกรรมนั้นถูกออกแบบมาทนทานสูง เหมาะกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง ในขณะที่สีทาบ้านทั่วไปจะเน้นไปทางการตกแต่งซะมากกว่า เหมาะกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมปกติ

ในส่วนของวิธีการใช้ก็แตกต่างอย่างมาก สีพ่นอุตสาหกรรมมักใช้พ่นสีเพื่อให้การเคลือบพื้นผิวเรียบเนียนและสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับงานละเอียด เช่น เครื่องจักร หรือยานยนต์ ส่วนสีทาบ้านทั่วไปนั้นจะใช้แปรงหรือโรลเลอร์ในการทา ซึ่งเพียงพอสำหรับงานตกแต่งผนังและเฟอร์นิเจอร์ในบ้านที่ไม่ต้องการความทนทานมาก

ประเภทของสีพ่นอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง?

ประเภทของสีพ่นอุตสาหกรรมจะสามารถแบ่งออกตามคุณสมบัติและการใช้งาน มีดังนี้

  1. สีพ่นสำหรับป้องกันการกัดกร่อน (Anti-Corrosion Paint)

  • ใช้สำหรับป้องกันโลหะจากการเกิดสนิมในที่ที่มีความชื้นและสารเคมี เช่น เครื่องจักรหนัก, ท่อโลหะ และโครงสร้างเหล็ก
  1. สีพ่นทนความร้อน (Heat-Resistant Paint)

  • ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ โรงงานผลิตพลังงาน หรือเครื่องจักรที่มีความร้อนสูง เช่น เตาเผา ท่อไอเสีย
  1. สีพ่นสำหรับงานตกแต่ง (Decorative Spray Paint)

  • ใช้เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับพื้นผิว เช่น งานเฟอร์นิเจอร์, ยานยนต์, หรืออุปกรณ์ตกแต่ง เพราะมีสีสันให้เลือกหลากหลาย และสามารถเลือกพื้นผิวแบบเงา ด้าน หรือเมทัลลิก
  1. สีพ่นแห้งเร็ว (Quick-Drying Spray Paint) 

  • สีประเภทนี้มีส่วนผสมที่ช่วยให้สีแห้งเร็ว
  • ใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการลดเวลาในการแปรรูปเช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
  1. สีพ่นสำหรับป้องกันสารเคมี (Chemical-Resistant Paint)

  • ใช้เพื่อป้องกันพื้นผิวจากสารเคมี ส่วนใหญ่จะใช้ในอุตสาหกรรมเคมีและห้องปฏิบัตืการ
  1. สีพ่นเคลือบเงาและป้องกันรอยขีดข่วน (Protective and Gloss Coating Paint)

  • ช่วยเพิ่มความเงางามและปกป้องพื้นผิวจากรอยขีดข่วน
  • ใช้กับผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์
  1. สีพ่นทนแรงกระแทก (Impact-Resistant Paint)

  • เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรงและทนต่อแรงกระแทก เช่น เครื่องมือเครื่องจักรหนัก
  1. สีพ่นสำหรับพื้นผิวเฉพาะ (Special Surface Spray Paint)

  • ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุและงานตกแต่ง เช่น สีพ่นสำหรับพลาสติก ไม้ หรือกระจก ซึ่งออกแบบมาให้ยึดเกาะกับพื้นผิวแต่ละประเภทได้ดี

องค์ประกอบหลักของสีพ่นอุตสาหกรรม

ในส่วนขององค์ประกอบหลักๆของสีพ่นอุตสาหกรรมนั้นมี 4 ส่วนหลัก ดังนี้

  • เรซิน (Resin) เป็นองค์ประกอบสำคัญในสีพ่นอุตสาหกรรม ทำหน้าที่เป็นตัวประสานหรือ Binder เพื่อยึดเม็ดสีและส่วนผสมอื่น ๆ เข้าด้วยกัน รวมถึงช่วยให้สีสามารถยึดเกาะพื้นผิวได้ดี เพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของสี นอกจากนี้ เรซินยังมีผลต่อความเงางามและคุณสมบัติการปกป้องพื้นผิวของสีอีกด้วย
  • เม็ดสี (Pigment) เป็นส่วนประกอบที่ให้สีและเฉดสีแก่ผลิตภัณฑ์ รวมถึงช่วยเพิ่มความสามารถในการปกปิดพื้นผิว เม็ดสีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ เม็ดสีหลัก (Primary Pigment) ที่ให้สีสัน เช่น สีขาว สีดำ หรือสีแดง และเม็ดสีเสริม (Extender Pigment) ที่ช่วยเพิ่มความทนทานและปรับปรุงคุณสมบัติพิเศษ เช่น การป้องกันรังสียูวี
  • ตัวทำละลาย (Solvent) ทำหน้าที่ช่วยลดความหนืดของสีเพื่อให้ง่ายต่อการพ่นหรือทา และจะระเหยออกไปหลังจากการพ่น ทำให้สีแห้ง
  • สารเติมแต่ง (Additives) เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเพิ่มคุณสมบัติพิเศษให้กับสีพ่น เช่น ช่วยให้สีแห้งเร็วขึ้น ป้องกันการเกิดฟองอากาศ และเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันสนิมหรือการยึดเกาะกับพื้นผิวเฉพาะ

คุณสมบัติและประโยชน์ของสีพ่นอุตสาหกรรมที่คุณควรรู้

คุณสมบัติและประโยชน์ของสีพ่นอุตสาหกรรมที่คุณควรรู้

  • ทนทานต่อสภาพแวดล้อม สีพ่นอุตสาหกรรมถูกออกแบบให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่รุนแรง เช่น ความร้อนสูง ความชื้น และสารเคมี เหมาะสำหรับงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือพื้นที่กลางแจ้ง
  • ความแข็งแรงและยืดหยุ่น มีคุณสมบัติแข็งแรงแต่ยืดหยุ่น ทำให้สามารถทนต่อแรงกระแทกหรือการขยายตัวของพื้นผิวได้โดยไม่แตกร้าว
  • ปกป้องพื้นผิวจากการกัดกร่อนและสนิม ช่วยป้องกันการเกิดสนิมและการกัดกร่อนบนพื้นผิวโลหะ โดยเฉพาะในงานที่ต้องสัมผัสกับความชื้นหรือน้ำเกลือ
  • การตกแต่งและเพิ่มความสวยงาม นอกจากการปกป้องพื้นผิวแล้ว ยังมีสีสันให้เลือกหลากหลายสีและระดับความเงา
  • ประโยชน์อื่นๆ เช่น กันไฟ ป้องกันเชื้อราและกันลื่น

ข้อคำนึงในการเลือกใช้สีพ่นอุตสาหกรรมให้เหมาะสม

การที่เลือกประเภทสีพ่นอุตสาหกรรมที่เหมาะกับงานจริงๆ ไม่เพียงแค่ได้ผลลัพธ์มีคุณภาพ แต่ยังช่วนเพิ่มความทนทานและช่วยยืดอายุการใช้งานได้อีกด้วย ดังนั้นก่อนที่จะเลือกประเภทควรที่จะรู้ข้อที่ควรพิจารณา เพื่อให้ได้สีที่ตอบโจทย์กับงานของคุณได้ดีที่สุด

  1. ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกใช้สี โดยเริ่มจาก

  • พื้นผิวที่จะทา เช่น โลหะ, ไม้ หรือพลาสติกที่ต้องการสีพ่นที่มีคุณสมบัติยึดเกาะเฉพาะตัว
  • สภาพแวดล้อมหรือสภาพการใช้งาน เช่น พื้นที่กลางแจ้ง หรือใช้กับบริเวณที่ต้องโดนสารเคมี
  • วัตถุประสงค์การใช้งาน หากต้องการป้องกันสนิม เพิ่มความเงา หรือทนความร้อน ก็ควรเลือกสีที่มีคุณสมบัติพิเศษตรงตามความต้องการ
  1. วิธีการเลือกสีให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท

  • สีที่ใช้ในงานที่ต้องการความทนทานสูง เช่น เครื่องจักรหรือท่อโลหะ ควรเลือกสีที่ทนต่อการกัดกร่อน
  • งานตกแต่ง เช่น ฟอร์นิเจอร์หรือชิ้นส่วนยานยนต์ ควรเลือกสีที่มีความเงางามและสีสันที่สวยงาม
  • งานที่ต้องการป้องกันความร้อนหรือ การลื่นหรือเชื้อรา ก็ควรเลือกสีที่มีคุณสมบัติเสริมที่เหมาะสม
  1. คุณภาพของสีพ่นอุตสาหกรรม

  • ควรเลือกสีที่ผลิตจากวัสดุคุณภาพสูงและมีการผสมสารเติมแต่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ควรตรวจสอบการรับรองมาตรฐานการผลิต เช่น ISO เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความทนทาน

ผู้เชี่ยวชาญด้านการผสมสีอุตสาหกรรม The Code Color 

ถ้าคุณกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านสีพ่นอุตสาหกรรมที่ให้คำปรึกษาและผลิตสีคุณภาพสูงได้ครบทุกเฉด The Code Color คือคำตอบของคุณ เราให้บริการด้านสีที่ครบวงจรจากประสบการณ์ในภาคอุตสาหกรรมสีและเคมีอย่างยาวนานกว่า 30 ปี ไม่ว่าจะเป็นบริการผสมสีตามตัวอย่าง บริการผสมสี 2K รองรับการพ่นสีได้ทุกพื้นผิว ทุกเฉดสีที่คุณต้องการ บริการของเรารองรับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ตั้งแต่อุตสาหกรรมยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ ไปจนถึงงานตกแต่งภายในและงานอีเว้นท์ต่างๆ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการพ่นสีที่สำคัญต้องมีอะไรบ้าง?

อุปกรณ์ที่ใช้ในการพ่นสีที่สำคัญต้องมีอะไรบ้าง?

  • เครื่องพ่นสี (Paint Sprayer) จะช่วยให้การพ่นสีมีความสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความรวดเร็ว
  • ปืนพ่นสี (Spray Gun)  ใช้ควบคุมการพ่นสี สามารถกำหนดความละเอียดและทิศทางของสีได้แม่นยำ
  • ถังสี (Paint Container) อาจเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องพ่นสีหรือเป็นถังแยกต่างหาก ขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์
  • สายลม (Air Hose) ใช้เชื่อมระหว่างเครื่องพ่นสีกับปืนพ่นสี
  • หน้ากากป้องกัน (Respirator) ป้องกันการสูดดมละอองสีหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • แว่นตาป้องกัน (Safety Glasses) ป้องกันดวงตาจากละอองสีหรือสิ่งสกปรกที่อาจกระเด็นระหว่างพ่นสี
  • ถุงมือ (Gloves) ช่วยลดความเสี่ยงจากการสัมภัสกับสารระคายเคือง
  • เทปปิด (Masking Tape) ใช้เพื่อปิดที่ที่ไม่ต้องการให้โดนสี ป้องกันการเลอะเพิ่มความเรียบร้อย
  • กระดาษทราย (Sandpaper) ใช้เพื่อเตรียมผิวก่อนลงสี ช่วยให้ขัดเรียบหรือทำความสะอาดเพื่อให้สีติดได้ดียิ่งขึ้น

มาดูขั้นตอนการใช้สีพ่นอุตสาหกรรมอย่างไร ให้ถูกต้อง และปลอดภัย

มาดูขั้นตอนการใช้สีพ่นอุตสาหกรรมอย่างไร ให้ถูกต้อง และปลอดภัย

การที่จะใช้สีพ่นอุตสาหกรรมให้ได้ผลลัพทธ์ที่ดีและมีความปลอดภัย จำเป็นต้องมีความรู้และความระมัดระวัง ก่อนที่จะเริ่มงานมีขั้นตอนควรปฎิบัติตาม ดังนี้

  1. เตรียมความพร้อม 

  • ก่อนพ่นสี ควรเริ่มจากการทำความสะอาดพื้นผิวให้พร้อม ใช้กระดาษทรายขัดพื้นให้เรียบ
  • เลือกหัวพ่นและแรงดันลมให้เหมาะสมกับประเภทของสี
  • เลือกสี ผสมสีและเตรียมอุปกรณ์ เช่น ปืนพ่นสี หน้ากากป้องกัน แว่นตา
  1. ขั้นตอนการพ่นสี

  • ก่อนที่จะพ่นควรที่จะเขย่ากระป๋องเพื่อให้สีเข้ากันก่อน และควรทดลองพ่นสีบนพื้นผิวที่ไม่ได้ใช้ก่อน เพื่อปรับปืนพ่นสีให้ได้ปริมาณสีและรูปแบบการพ่น
  • ระหว่างที่พ่นสี ควรที่จะต้องรักษาระยะห่างจากพื้นผิวตามคำแนะนำของผู้ผลิต เพื่อความปลอดภัยและเพื่อให้สีกระจายได้อย่างเสมอกัน
  • พ่นสีให้เป็นชั้นบาง ๆ และสม่ำเสมอ ควรพ่นหลายรอบแทนการพ่นหนาในครั้งเดียว
  1. ดูแลอุปกรณ์หลังใช้งาน

  • ทำความสะอาดปืนพ่นสีและอุปกรณ์อื่นๆ ด้วยทินเนอร์หรือสารทำความสะอาดที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสะสมของสีที่อาจแข็งตัวและอุดตันอุปกรณ์
  • เก็บสีที่เหลืออยู่ในภาชนะเดิม ปิดฝาให้สนิท และเก็บไว้ในที่เย็นและแห้ง อ่านและปฏิบัติตามคำแนะนำในการเก็บรักษาสีที่ระบุไว้บนฉลาก เพื่อให้มั่นใจว่าสีจะคงคุณภาพได้ยาวนาน

เทคนิคการพ่นสีให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี

  • พ่นสีในลักษณะเป็นชั้นบาง ๆ เพื่อป้องกันการไหลย้อยและช่วยให้สีเรียบเนียน
  • รักษาระยะห่างระหว่างหัวพ่นและพื้นผิว ประมาณ 20-30 เซนติเมตร โดยพ่นสีในแนวขนานกับพื้นผิว เพื่อให้ละอองสีกระจายตัวได้ดีและเรียบเสมอ
  • พ่นสีในจังหวะที่สม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดที่ตำแหน่งเดิมนานเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดคราบ
  • พ่นสีในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อลดการสะสมของละอองสีและป้องกันปัญหาสุขภาพ

ตัวอย่างการนำสีพ่นอุตสาหกรรมไปใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ

  • การใช้สีพ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์

สีพ่นอุตสาหกรรมถูกนำมาใช้ในขั้นตอนการผลิตและซ่อมแซม เช่น ตัวถังรถยนต์ ชิ้นส่วน และอุปกรณ์อื่นๆ นอกจากีพวกนี้จะช่วยเพิ่มความสวยงามแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันการกัดกร่อนของสนิม รอยขีดข่วน และยังช่วยยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนได้ด้วย

การใช้สีพ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์

  • การใช้สีพ่นในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

นอกจากจะใช้เพื่อช่วยเสริมความงามให้ตัวอาคารแล้ว สีพ่นอุตสาหกรรมยังใช้กับโครงเหล็ก คานหรือวัสดุก่อสร้าง เพื่อป้องกันการเกิดสนิมและยังเพิ่มความทนทานกับความชื้นและสารเคมี

การใช้สีพ่นในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

  • การใช้สีพ่นในอุตสาหกรรมอื่น ๆ

อุตสาหกรรมเครื่องจักร: ใช้พ่นสีบนเครื่องจักรและอุปกรณ์โรงงาน เพื่อป้องกันการกัดกร่อนจากสารเคมีและสภาพแวดล้อมที่รุนแรง

อุตสาหกรรมการขนส่ง: สีพ่นใช้กับรถไฟ เรือ หรือเครื่องบิน เพื่อป้องกันความเสียหายจากสภาพแวดล้อม เช่น น้ำทะเล ความชื้น และการใช้งานหนัก

การใช้สีพ่นในอุตสาหกรรมอื่น ๆ

ข้อคำนึงด้านความปลอดภัยในการใช้งานสีพ่นอุตสาหกรรม

  1. อันตรายจากสารเคมี

จากที่ได้กล่าวในช่วงต้นไปว่า ในองค์ประกอบหลักของสีพ่นอุตสาหกรรมส่วนใหญ่นั้นมีสารเคมีเป็นองค์ประกอบ แน่นอนว่ามีสารเคมีที่อาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกายถ้าหากสัมผัสกับมันโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น การสูดดมสารระเหยเข้าไป หรือสัมผัสผ่านผิว โดยเฉพาะสารที่มีส่วนประกอบของตัวทำละลาย (solvent) หรือสารเคมีที่อาจเป็นพิษหรือระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ ดังนั้น ควรใช้สีในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศดี และควรหลีกเลี่ยงการสูดดมสารเคมีหรือสัมผัสกับสีโดยตรง

  1. อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

การใช้สีพ่นอุตสาหกรรมจำเป็นต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) เพื่อปกป้องจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ เช่น หน้ากากหรือเครื่องช่วยหายใจ (Respirator) เพื่อป้องกันการสูดดมสารเคมี, แว่นตาป้องกัน (Safety Glasses) เพื่อป้องกันสีหรือสารเคมีเข้าตา

  1. การจัดการขยะสี

สีพ่นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้ใช้แล้ว หรืออุปกรณ์ที่ใช้แล้ว เช่น กระดาษทราย, ผ้าเช็ดสี, หรือภาชนะสี ควรถูกจัดการอย่างปลอดภัย เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนหรือมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ขยะที่มีสีหรือสารเคมีควรนำไปทิ้งในภาชนะที่ปิดสนิทและเหมาะสมตามมาตรฐานการจัดการขยะอันตราย หรือสามารถนำไปรีไซเคิลได้หากเป็นไปได้

สีพ่นอุตสาหกรรมไม่ได้เป็นเพียงแค่สีที่ทาเพื่อความสวยงามหรือเพื่อให้ดูดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการลงทุนที่จะช่วยปกป้องและเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งของได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวบ้าน โรงงาน หรือโครงสร้างในการก่อสร้างต่างๆ เพราะการเลือกใช้สีพ่นอุตสาหกรรมที่เหมาะสมก็จะสามารถยืดอายุการใช้งานของวัสดุและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมในระยะยาวได้อีกด้วย เพราะสีพ่นอุตสาหกรรมทนมีคุณสมบัติพี่ทนต่อความร้อน ความชื้น หรือสารเคมีที่มักพบในอุตสาหกรรม ดังนั้นการเลือกสีที่ดีและตรงกับความต้องการ จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและช่วยให้คุณประหยัดได้ในอนาคต

Leave a comment

You must be logged in to post a comment.